Prapagandist art, Autonomous art, Critical art, Et Caetera Art... ศิลปะ ศิลเปรอะ?


ได้รับเชิญให้ไปพูดในงานสัมมนาเปิดตัวงาน "เทศกาลฝังความทรงจำ" ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในหัวข้อกว้างๆคือ "Siam Inception Process การปลูกสร้างความคิด ความเชื่อในสังคมไทย" ร่วมกับนักวิชาการรุ่นพี่เก๋าๆหลายคน และหัวข้อที่คิดไว้ในใจว่าอยากจะพูดคือปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมและศิลปะหลังเหตุการณ์ massacre เมษา-พฤษภา 2553

คิดว่าจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ

ส่วนแรก ทำ literature review ของงานต่างๆ หลังเหตุการณ์นองเลือด ซึ่งจำแนกได้เป็นสองประเภท คือ (1) งานเชิงสังคมวัฒนธรรมพวก Mass Media Culture และ (2) งาน "ศิลปะ" พวก Art exhibition วรรณกรรม (โดยเฉพาะกวีนิพนธ์และดนตรี)
ในส่วนนี้ จะสรุป form and content ว่ามีลักษณะอย่างไรโดยภาพรวม, สะท้อน "วาทกรรม" อะไร สอดรับหรือ confirm  "ร่องหลุม" ทางความคิดความเชื่อของคนไทยที่หมุนเวียนในสังคมอยู่แล้วอย่างไร และไปตอกย้ำ ภาพ simulacra ของสังคมไทย/คนไทย/ประเทศไทย (อัตลักษณ์ไทยอันอนุรักษ์นิยม) อย่างไร
ที่ย้อนแย้งที่สุดคือ Mass Media Culture และศิลปะเหล่านี้ ที่ทำออกมา เท่ๆ ล้ำๆ เจ๋งๆ แนวๆหรือ high-so มีสุนทรียะศาสตร์ ควรจะมีลักษณะ "ขบถ" "บ่อนเซาะ" ความอนุรักษ์นิยม (คือควรจะออกมา avant-garde) กลับเต็มไปด้วย เนื้อหาและจุดยืน ที่อนุรักษ์นิยมยิ่งกว่าอนุรักษ์นิยม (เหนือกว่าอนุรักษ์นิยมเพราะจำแลงแปลงกายและชุบตัวภายใต้เสื้อคลุมของความ cool และก้าวหน้า) ไม่ต่างจากภาพวาดฝาผนังวัดพระแก้ว (ที่เชิดชูพุทธศาสนาเพื่อเสริมระบอบราชาชาตินิยม และกีดกันศาสนาหรือความเชื่ออื่นๆในเวลาเดียวกัน) หรือไม่ต่างจากศิลปะ Socialist realism ในสมัยสตาลินหรือเหมา เจ๋อ ตุง (ที่เชิดชูศิลปะกรรมาชีพ และเกลียดชังศิลปะกระฎุมพีในเวลาเดียวกัน)
คืออนุรักษ์นิยมที่ผ่านการแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ในสังคม Mass media culture ที่ความเท่วัดกันที่รูปลักษณ์ของ campaign

ส่วนที่สอง คือความพยายามตอบคำถามอันสุดแสนยากเย็นว่า ในเมื่อสังคมไทยถูกผูกขาดการสร้างวัฒนธรรม/ศิลปะโดยคนกลุ่มนี้ ผ่าน propagandist discourse (กลายเป็น propagandist culture/art แล้วแผ่ขยายไปยังคนกลุ่มอื่นๆในสังคมผ่าน Mass media) แล้ว เราจะสร้างงานศิลปะหรือกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆได้อย่างไร โดยไม่ให้ตก "ร่อง" เดียวกัน คือ ร่องของการทำ propaganda? 
หรือว่านี่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่ต้องยอมรับ ยิ่งหากผูกกับบริบททางสังคมการเมืองด้วยแล้ว (เพราะสังคมการเมืองของเราอยู่ในยุค victorian คือ pre-modern) การสร้างของเราจึงต้องมีลักษณะเชิงปฏิกิริยาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ?
หรือไม่จำเป็นต้องสร้าง Mass culture เข้ามาต้าน แต่ทำการ "ก่อการร้าย" ทางวัฒนธรรมแบบ subculture ภายใต้กรอบทางความคิดและยุทธวิธีคล้ายพวก Street art?

นี่คือคำถามโลกแตกของความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและการเมือง!

หรือจริงๆแล้ว เราอาจจะต้องเชื่อ Theodor Adorno ว่าเราต้องผลิต Autonomous art ที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้มุ่งวิจารณ์อุดมการณ์ทางการเมือง แต่หาได้ปราศจาก "ความเป็นการเมือง" ไม่?
ท้ายที่สุดแล้วคำถามจริงๆคือ คำถามเชิง aesthetics ว่าด้วย "ความเป็นการเมือง" ที่มีอยู่ภายในตัวอยู่แล้วของ "ศิลปะ" หรือพูดในกว้างที่สุดในบริบทของไทย คือพูดถึง "ความเป็นการเมือง" ในกิจกรรมเชิงสังคมวัฒนธรรมอื่นๆทั้งหมดด้วย
แล้วเราจะตกร่องของกลุ่มนักคิดที่บอกว่า ทุกอย่างคือการเมือง เกินไปหรือไม่?

จะเอาอะไรเป็นตัวตั้งระหว่าง การต่อสู้ทางอุดมการณ์ หรือ การแสดงออกเชิงสุนทรียะ?

แต่หลังจาก "การสังหารหมู่" ที่เกิดขึ้นจริง เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าศิลปะไม่สามารถ "ลอยนวล" ลอยตัวเองสูงส่งจากสังคมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้... ดังนั้น การผลิตงานศิลปะหรือกิจกรรมทางสังคมใดๆ post-may 2010 นั้น จะต้องตอบ "คำถามเชิงจริยธรรม" เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและการเมืองในบริบทที่ precise ของไทยนี้ให้ได้

หรือเราควรใช้ model ของสังคม post-colonial อย่างแอฟริกาใต้ คือ เล่าเรื่อง personal ของตัวเองโดยไม่ต้องจงใจเล่าเรื่อง political ที่ใหญ่กว่าตัวเองเกินไปมาก? เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเล่าเรื่องส่วนตัว คือการเล่าเรื่องการเมืองนั่นเอง เพราะเราอยู่ภายในโครงสร้างของความขัดแย้งและการชิงดีชิงเด่นระหว่างอุดมการณ์

หรือคล้ายกับบรรยากาศหลัง Auschwitz ที่เราไม่ควร jump to creation แต่ควรจะย่ำอยู่บน questions อยู่กับที่ให้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อ สอบทาน และ ครุ่นคิด อย่างจริงจังว่า หลังการฆ่าคนไทยด้วยกันเอง เราจะพูดถึงเรื่องนี้ได้อย่างไร? โดยใช้สื่อใด?

ประเด็นอีกอันที่คงต้องถามต่อไปคือ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง "ทุน" (และ "สถาบัน" ทางสังคมอื่นๆ) กับการผลิตงานศิลปะ

ในโลกทุนนิยมเสรีนิยม... เสรีภาพของศิลปะมีจริงหรือ?
นอกจากตัวเงิน (แหล่งทุน) แล้ว รูปแบบของควาสัมพันธ์ยังมีลักษณะ "เชิงคุณค่า" (รวมถึงผลตอบแทนเชิงคุณค่า) เชิง "วาทกรรม" (ในความหมายของฟูโกต์ คือไม่ใช่แค่การใช้ภาษาเท่านั้น)
แล้วมันทำงานยังไง?
ศิลปิน = เหยื่อ? =ฆาตรกร? หรือเป็นสอง? 

No comments:

Post a Comment

Travel Writings on Indochina

I've been collecting a collection of travel writings on Indochina at the fin de siècle: Morice Docteur, 'Voyage en Cochinchine',...