Travel Writings on Indochina

I've been collecting a collection of travel writings on Indochina at the fin de siècle:

Morice Docteur, 'Voyage en Cochinchine', Le Tour du monde, 30 (1875), 369-416. [Quoted in Mayer 1985]



Lemire, Charles, L'Indo-Chine. Cochinchine française, Royaume de Cambodge, Royaume d'Annam et Tonkin. Third edition (Paris: Challamel Aîné, [1877] 1884). 

 




Ferrière, Joseph, Georges Garros, Alfred Meynard and Alfred Raquez eds., L'Indo-Chine 1906 (n.p.: n.pub. 1906). [This one is published as a propaganda for the 1906 Exposition in Marseille] 



Massieu, Isabelle, Comment j'ai parcouru l'Indo-Chine: Birmanie, États Shans, Siam, Tonkin, Laos (Paris: Plon-Nourrit, 1901) [work by a female traveller. A study of Isabelle Massieu can be found in Valérie Boulain, Femmes en aventure (2012)] She has published earlier versions in La Revue des deux mondes in July and August 1890. I haven't compared the two versions yet [to be done]


Boissière, Jules, L'Indo-Chine avec les Français (Paris: Louis-Michaud, n.d.). [This is a posthumous edition by the Français d'Asie group with a preface by Jean Ajalbert, probably published during the 1910s along with the republication of Boissière's fictions as a effort of eulogising him]

Ajalbert, Jean, 'L'Indochine artistique et pittoresque', La Dépêche coloniale illustrée (1918), 52-4. [This is a special volume published by the Comité d'assistance aux travailleurs indochinois, a post-war effort]






The Prince's Papers workshop on Digital Humanities and archives

I have taken up a workshop on 'A Prince's Papers: Transcribing Prince Albert's World' run by Dr. Andrew Curnew. I have always been curious about Digital Humanities. And as a aficionado of archives, I thought this workshop which uses the Royal Archive of the Windsor Castle would be a chance for me to learn more about hot DH can be used in archiving at the time of digitalising archives.



The First workshop is about creating a TEI (the Text Encoding Initiative) document using a free program Brackets. Putting the technical aspect aside, the preparatory work is about exploring the online Royal Archives Collection which includes his collection of Raphael's paintings, his involvement in the 1851 Great Exhibition, and his interests in the emerging photography. 

I am intrigued to learn more about the 1851 Exhibition as during my thesis, I have been looking a lot into the French's colonial and world exhibitions, but have little knowledge about the contemporary Anglophone world.

While bowsing the archives, I've discovered a collection involving the Secretary of the Royal Commission of the Exhibition of 1851, Edgar Bowring's Papers. He happens to be the youngest son of Sir John Bowring (1792-1872), the fourth governor of Hong Kong.

The name of Sir John Bowring is familiar among Thai people as he is mentioned in the national curriculum of history. He was actually the main instigator of the first Siamese-British treaty. This treaty signed in 1855 between King Mongkut (known in English as King Rama IV) and Bowring is very important in Thai history as it opens a new era of Thai modernity emerging within the context of threats from modern colonisation. This treaty, to my knowledge, is often quoted by historians of critical history as the historical moment that marked Thailand as a 'crypto colony'. One of the agreements is that Siam (the former name of Thailand) granted extraterritoriality to British citizens and subjects residing in Siam.

For the Second workshop, I chose to work on the transcription of Albert's speech for the Laying of the Foundational Stone of the National Gallery of Edinburgh in 1850. The first thing that struck me is the address of the Prince to his public as solely 'Gentlemen' (how unsurprisingly). I shared this remark with our group. Some suggested that it is because this kind of speech was usually delivered in what we commonly know as gentlemen's dinner (very homosocial indeed!).

Curious about the circumstances of his speech (whether it was delivered in this kind of dinner or in public), I've digged into it. My search in the British Newspaper Archives allowed me to find news report on the event.

I skimmed through it and find the reporter's comments at the end of the Prince's speech quite amusing


Contrary to our hypothesis, the speech was delivered at the laying of the stone's site itself (aka in public), but we were right about the destined audience. The Prince delivered it to a handful of commissioners who surrounded him (all gentlemen of course) at the ceremony. 

The reporter commented on his foreign identity as well: 'The Prince spoke without notes, and with a pronunciation in which his foreign origin could barely be detected.'

Gutenberg link to the 1862 publication of his speeches
https://www.gutenberg.org/files/61205/61205-h/61205-h.htm

For the Third workshop, I chose to work on Dr. Becker, Albert's librarian who acted in his name for his collection of photography. The letter I work on is destined to the publisher Colnaghi who is to publish a photo catalogue of paintings shown in the 1857 Manchester exhibition. The prince seems outrageous by the way in which the painters and paintings were to be organised in the catalogue and demanded they be presented chronologically. Otherwise the publisher could not quote him as the patron in their printed version. It seems that his demand was taken into account as we can read his name on the printed catalogue here.

N.B. Fun fact: the first photographic catalogue in England was published for the 1851 Great Exhibition

During this workshop, we talked a lot about photographic techniques during the19th century (for example, glass plates) .

- daguerrotype
- wet collodian negative  
- the albumen print
- the ambrotype
- carbon printing from 1860s

Albert was interested in new processes of photography, particularly the 'fading' 

The Fourth session is about the Prince's Raphael collection. It's quite fascinating as this collection was ambitious as it sought for the first time to gather together every known work of Raphael, reproducing them in photographic form in order to bring out the artist's evolution. It didn't finish until some 15 years after the Prince's death in 1861.



French-language Newspapers and Journals in Indochina

While strolling through L'Indo-Chine (1906) edited by Ferrière, Garros, Meynard and Raquez, I found adverts of L'Avenir du Tonkin and Le Courrier saigonnai. They are quite interesting as reflecting the colonial-lobby objectives of these French language newspapers.

I recall having read that Jules Boissière was collaborator of L'Avenir du Tonkin, although when I went through the newspaper in the beautiful but not practical Bibliothèque Ste-Geneviève in Paris, I couldn't find his columns.

I think about Boissière because I am now reading his L'Indo-chine avec les Français, a collection of unpublished essays posthumously published probably by the effort of the circle of the Français d'Asie, spearheaded  by Albert de Pouvourville (whose name is mentioned in the advert of L'Avenir du Tonkin above) and Jean Ajalbert.

Photogravure and photomontage

While I was reading a guide of Indochina published by the Touring Club of France (this one is the 1910 version hold by the Library of Congress while the one I read is a longer version -published in 1911? - from the Bibliothèque nationale de France), I was struck by the photos used to illustrate the text in photomontage style. Some looks really uncanny, with a collage of a French woman on the photo of exotic site. Like this one,

There is mention of F. Bouché as the 'photograveur'. I then wrote to my colleague in the States who is specialist of artistic techniques in the 19th century, Rachel Skokowski.
She explained that 'photogravure' is a 19th-century photography technique that combines photography with etching (you basically transfer a photograph onto a metal plate that is then printed). The photograveur would be the person who made the prints, and is probably a different person from the one who took the original photos.

She also gives me useful links to read further: 


I then discovered André Disdéri's 'carte mosaïque'. They are quite charming, and the Commune's one intrigues me. It is really upsetting to think about how many young people were killed during this event.


Guide aux ruines d'Angkor by J. Commaille

Published in 1912 by Gallimard  (but it might have been published earlier and the Gallica copy could be a re-editio). One of the early guidebooks for tourists of Angkor.



This guide is quoted with photos by another guidebook 'L'Indo-chine' published by the Touring-Club de France, comité de tourisme colonial in 1911 (date given in Gallica). This edition is bilingual and is part of the development of tourism in the region [to be linked with the establishment of the 'Angkor Park' by the EFEO in the same period]. This guide gives practical information as well as description of sites and monuments tourists could visit (transport, accommodation, travel time).



These guides are to be put in contrast with the exotic novel by Pierre Loti, Le Pèlerin d'Angkor published in 1912. This travelogue gives a different image of a trip to Angkor: mysterious, dangerous, difficult to accessible, in contrast to a well-organised trip by tourist companies.

Another guide which seems to be well known is Guides Madrolle. This advert I found at the end of La Dépêche coloniale illustrée, a special edition of 1918 on the Travailleurs indochinois.
N.B. In this volume, there is an excerpt of J. Boissière about the character of the Annamites (To read).




Jardin Colonial at Nogent sur Marne

Map of the Colonial Exhibition in 1907


I read an article published by La Dépêche coloniale of the 3 Juin 1909 about the Jardin colonial in Nogent sur Marne, in the east suburb of Paris. This 'Agronomical Garden' was founded in 1899, it hosted a Colonial Exhibition in 1907. The Marie de Paris (Paris Municipal) acquired it in 2003 and is now renovating the pavilions. The newspaper Le Parisien covered the story here http://www.leparisien.fr/paris-75/paris-un-pavillon-colonial-restaure-au-jardin-tropical-du-bois-de-vincennes-16-08-2019-8134371.php

1864: Foundation of the Jardin botanique et zoologique in Saigon preceded this foundation of the administrative organ in the métropole 

1902 : Foundation of the École nationale supérieure d’agriculture coloniale as an integral part of the Jardin colonial (this is to be linked to the article on 'La Ville de Saigon' in Revue indochinoise illustrée in 1893 recently read that gives details about the Botanical Gardin in Saigon including the administrative staff in charge of developing seeds and plants)
'La Ville de Saigon' in Revue indochinoise illustrée in 1893

Economic expansion is to be supported by research in new plants in the colonies. I am also thinking about the foundation of the EFEO in 1899 in Indochina. Efforts were made from different parties (not always concerted) to create and master knowledge about Indochina

Video ความพ่ายแพ้ของนางตะเคียนในตำนานเสาไห้

ความพ่ายแพ้ของนางตะเคียนในตำนานเสาไห้
ตำนานเสาไห้เป็นเรื่องสั้นของคุณแดน  อรัญ
เรื่องสั้นเรื่องนี้มีคำตามที่น่าสนใจเพราะนักเขียนพูดเอาไว้ว่า
"ถ้าหากมีใครมาถามฉันว่า ในฐานะนักเขียน  ฉันได้เขียนรุ้อะไรไปบ้าง  ฉันก็จะตอบว่าตำนานเสาไห้
และถ้าหากเขาถ้าฉันอีกว่า   เขียนเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นรึ 
ฉันก็จะตอบเขาไปว่า  เรื่องเดียวเท่านั้น"

Talk เสวนารู้ทันสื่อยุคออนไลน์

เสวนา รู้ทันสื่อยุคออนไลน์
งานเปิดตัว กลุ่ม MEDIAINSIDEOUT
ช่วง เสวนา รู้ทันสื่อยุคออนไลน์ แค่หมาเฝ้าบ้านไม่พอ?
ทัศนคติที่มีต่อสื่อไทยที่มุ่งนำเสนอความจริงด้านเดียว

งานสัปดาห์ภาพยนต์สิทธิมนุษยชน "เทศกาลหนังมีชีวิต"


วันรัก สุวรรณวัฒนา - ก้อง ฤทธิ์ดี เสวนาภาษาหนัง เรื่องเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต ในกิจกรรมสัปดาห์ภาพยนตร์สิทธิมนุษยชน "เทศกาลหนังมีชีวิต" ดำเนินรายการโดย ชญานิน เตียงพิทยากร จัดโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสถาบันเกอเธ่ ณ สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ กรุงเทพ สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555

Voice of The Day

สัมภาษณ์พิเศษในรายการ Voice of The Day
รู้จักมุมมอง  ทัศนคติ  ความคิด และจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิต
 รวมถึงแนะนำรายการ Divas Café

 
 
19  มีนาคม 2556  ในวันที่มาถึงบ้านหลังเก่า..ที่ซึ่งเติมไปด้วยความทรงจำ
 
ปารีสจากหน้าต่างโรงแรม เป็นการเดินทางที่ยาวนานมากค่ะ (ทั้งหน้าจอที่นั่งตัวเองเจ๊งตลอดทริป อดดูหนังที่เล็งเอาไว้ ทั้งลุงแก่ข้างๆชวนคุยไม่หยุดแต่ดันเป็นโมโนล็อก ทั้งเด็กข้างหน้าแหกปากร้องงอแงตลอดเกือบสิบสองชม. สงสารพ่อแม่มันจริงๆ ยังไม่นับว่า...ต้องทนดมกลิ่นอึของเบบี้ตอนเครื่องลงขนท้องจุกเสียดและเวียนเหียน ฯลฯ) แต่ในที่สุดก็มาถึงเสียที! ปารีสต้อนรับคนคุ้นเคยครั้งก่อนเก่าด้วยสายฝนและความหนาวของช่วงเปลี่ยนฤดู กลิ่นของปารีสยังคงเหมือนเดิม บรรยากาศว้าเหว่และ melancholic เช่นเคย ปารีสยังคงรักษาความสกปรกของรถไฟเข้าเมืองไม่เคยเปลี่ยน สมกับที่เป็นพาหนะของ"มวลชน"ที่มีหน้าตาหลากหลาย ตั้งแต่คนเอเชีย คนดำ แขกขาว แขกเอเชีย คนขาว ฯลฯ มีความสุขมากๆที่ได้นั่งขนส่งมวลชนที่ไม่มีเสียงโฆษณาสินค้ารบกวนใจ เนริ์ดปารีสยังคงเหมือนเดิม คืออ่านนวนิยายเล่มโตในระหว่างการเดินทางใต้ดิน แววตาของคนเดินทางเหล่านี้ยังคงเหมือนเดิม อิดโรยและเยือกเย็น แต่ลึกๆแฝงความอ่อนไหวของมนุษย์เงินเดือนและชนชั้นแรงงานผู้ปากกัดตีนถีบในเมืองใหญ่ เสน่ห์กลิ่นตุๆที่คุ้นเคยยังคงอยู่ ราวกับไม่เคยเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา มีแต่แขกคนเดิมคนนี้ที่เปลี่ยนไป ความทรงจำหลายซับหลายซ้อนโผล่เข้ามาซ้อนทับกับภาพของบ้านเมืองข้างทางรถไฟ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยคุ้นเคยจนเมินเฉยละเลยที่จะมอง ปารีสเมื่ออายุสิบขวบครั้งมาเที่ยวกับพ่อแม่และน้อง ปารีสครั้งอายุ 16 เมื่อจากบ้านไกลตัวคนเดียว ปารีสเมื่อ 20 ที่แปลงสถานะเป็นนักเรียนซอร์บอน ปารีสเมื่อ 28 ที่จำลาจากกันเพราะโรคร้ายของพ่อที่รัก ปารีสกับคนรักหลายคนที่ได้เคยเดินร่วมทางแล้วจากกันไกลคนละทิศละทาง ปารีสในวันที่อายุเลยเลขสาม วันที่ชีวิตโดดเดี่ยวและเดียวดายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กลับมาซบอกบ้านหลังที่สองอีกครั้งโดยหวังว่าเธอจะช่วยสมานแผลและเช็ดคราบน้ำตาจากความสะบักสะบอมของการใช้ชีวิต หวังว่าเธอจะสามารถเติมพลังและแรงบันดาลใจให้กลับมาโฟกัสและชัดเจนกับชีวิต หวังว่าเธอจะใช้เวลาเงียบๆกับฉัน มีเพียงเราสองกับมูเซียม ร้านกาแฟ ร้านหนังสือ Paris here I am, feeling at home again!Afficher la suite


21 มีนาคม 2556 ประชุมผู้หญิงผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลกครั้งที่ 1

การประชุม 1er Forum mondial des femmes francophones การประชุมผู้หญิงผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลกครั้งที่ 1 สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวานด้วยหลากหลายอารมณ์ค่ะ เป็นวันที่ยาวนานและเต็มไปด้วยการพบปะพูดคุยกับผู้หญิงจากหลากหลายมุมโลก การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยรมต.ช่วยกระทรวงต่างประเทศ Yamina Benguigui ของฝรั่งเศส ร่วมกับ OIF องค์การประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสนานาชาติ กับ AUF หน่วยงานดูแลเรื่องการศึกษาของประชาคมผู้ใช่้ภาษาฝรั่งเศสและพันธมิตรอื่นๆ มีผู้หญิงตัวแทนจากประเทศต่างๆเข้าร่วมกว่า 400 คน ม...ีเฟย์มาจากประเทศไทยคนเดียว (ออกจะเหงาหน่อยๆ) จัดขึ้นที่ Musee du quai Branly ซึ่งเป็นพิพิทธภัณฑ์ด้านมานุษยวิทยา ที่รวบรวมข้าวของต่างๆของสังคม primitive ทั่วโลก เรียกว่าเป็นสถานที่ของความทรงจำยุคอาณานิคม ที่ริเริ่มโดยปธน. Jacques Chirac ผู้หลงใหลการสะสมของ exotic ทั้งหลาย แต่สถานที่นี้มีการนำเสนอสิ่งของต่างๆอย่างให้เกียรติ ไม่พยายามมองเป็น paternalism เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาเจ้าอาณานิคม แต่ก็นะ ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกลิ่นอายอาณานิคมได้ โดยเฉพาะความมเชื่อมโยงกับประเทศในอัฟริกา
การประชุมครั้งนี้ มีการพูดคุยโต๊ะกลม 3 หัวข้อหลักๆ คือ ผู้หญิงในภาวะสงครามและความขัดแย้ง, การเข้าถึงศึกษาของผู้หญิง, การพัฒนาทางศก.โดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิง (feminine entrepreneurship) แต่หลักๆประเด็นที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ (ซึ่งมาจากอัฟริกา) พยายามพูดกันมากคือ กรณีการข่มขืนรายวันที่เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ต่อไปนี้จะเรียกว่า RDC) โดยกองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้าน ร่างกายของผู้หญิงกลายมาเป็นพื้นที่ของการสู้รบ ผู้หญิงนับร้อยถูกข่มขืนรายวัน ถูกฆ่า ถูกของแหลมมีคมแทงในอวัยวะให้กำเนิด ฯลฯ ตอนท้าย พอเริ่มมีการวิจารณ์การกดขี่ผู้หญิงด้วยวาทกรรมศาสนานิยมและจารีตนิยม ห้องประชุมกลายเป็นพื้นที่ hyde park เต็มไปด้วยเสียงโห่ร้อง ผู้หญิงแย่งกันนพูด แย่งกันขอไมค์ มันและสนุกมากๆ
การประชุมในฝรั่งเศส ต่อให้มีรมต.มานั่งอยู่ (ในที่นี้มีมาทั้งหมด 3 คน ทั้งรมต.ช่วยที่ได้พูดถึงไปแล้ว, รมต.ต่างประเทศและรมต.กระทรวงผู้หญิง) บรรยากาศก็ไม่เคยพิธีรีตองอะไรมัน ผู้คนสามารถแสดงออก ถกเถียงกันได้อย่างเท่าเทียม เสียอย่างเดียว คนที่ขึ้นเวทีมีแต่ตัวแทนของอัฟริกาดำ (Afrique noire) มีตัวแทนอัฟริกาเหนือนน้อยมาก ยุโรปตะวันออกไม่มีเลย ยุโรปเองก็ไม่มี อย่าว่าแต่คนเอเชียเลย พวกเรา คนลาว ไทย เวียดนาม บ่นกันว่าเราไม่มีที่ทาง ไม่ได้รับการ represent เลย ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่อุตส่าห์จ่ายตั๋วเครื่องบินให้เราเดินทางมาไกลขนาดนี้
ปิดท้ายวัน ด้วยการเดินทางไปทำเนียบปธน. (Elysee) ปธน.ฝรั่งเศส ฟรองซัว โออลองด์ ต้อนรับพวกเร รับข้อเสนอจากการประชุมและขานรับจะเอาไปดำเนินการ

เสียสิ้นภารกิจทางการเสียที เริ่มต้นภารดกิจส่วนตัวตั้งแต่วันนี้ไป!
บทความรายงานการประชุม ดูได้ที่ประชาไท
 
 
 
 
 
22 มีนาคม 2556

วันนี้เป็นอีกวันที่หนาบเหน็บในปารีสและก็เป็นอีกวันที่เจอแต่เรื่องสนุกสนานและการพบปะกับผู้คนที่หลากหลาย... เริ่มด้วยการพูดคุยกับ Van เพื่อนคนเวียดนามซึ่งเป็นนักแปลวรรณกรรมและเป็นบรรณาธิการสนพ. เป็นเวลาสองชั่วโมงในระหว่างอาหารเช้า เราแลกเปลี่...ยนประสบการณ์ทั้งชีวิตและสังคมรอบตัวในประเทศของเรา หลังจากนั้น Van ก็พาไปที่ร้านหนังสือที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนังสือของเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนและเวียดนามชื่อว่า Le Phenix ได้หนังสือมา 3 เล่ม ซึ่งอ่านไปหนึ่งเล่มระหว่างนั่งรถไฟชื่อว่า RU เป็นของนักเขียนแคนาดา ซึ่งอพยพไปจากเวียดนาม อ่านไปสิบกว่าหน้า เป็นตอนที่เล่าการเดินทางใต้ท้องเรือและการหยุดพักในค่ายผู้ลี้ภัยในมาเลเซีย จับใจมากๆ บางตอนทำเอาน้ำตาซึมและ moved มากๆ (ทั้งๆที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่น่าจะ sentimental มากที่สุดแห่งหนึ่ง)
หลังจากร้านหนังสือ ก็เดินโซเซกลับโรงแรม ระหว่างทางเจอกลุ่มวัยรุ่นแสดงละครเคลื่อนไหวทางการเมืองหน้าทางลง metro เพื่ือสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับแรงงานสิ่งทอในประเทศบังคลาเทศ แบรนด์ดังๆต่างๆในยุโรปผลิตเสื้อผ้าในประเทศบังคลาเทศเยอะมากเพื่อให้ได้ราคาที่ถูก แต่จริงๆก็คืออยู่บนฐานของการกดขี่แรงงาน คุณภาพการทำงานที่แย่ คุณภาพชีวิตก็ไม่มี ชอบสโลแกนอันนึงของเขาที่ว่า ใครกันแน่คือ fashion victim? การสร้างความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกกับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆกับการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานของฝั่งผู้ใช้แรงงาน
ปิดท้ายวัน ด้วยการพูดคุยและทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่มหัศจรรย์ ในร้านไวน์ชื่อ France terroir ซึ่งขายไวน์จากเกษตรอินทรีย์ รับตรงจากผู้บริโภค ต้องขอบคุณน้อง Noppol Kobmoo เพื่อนรุ่นน้องที่เคยเรียนที่ฝรั่งเศสซึ่งได้นัดพบกันที่นี่ ทำให้เรารู้จักสองสาวเลสเบี้ยนชาวอิตาลี นักวิจัยทางชีวะ Maria-Antoinetta สุดเท่ซึ่งมีแฟนเป็นอาจารย์สอนวรรณกรรมศตวรรษที่ 17 ที่ Sorbonne และ Eleonora สุดน่ารักที่เพิ่งมาอยูาปารีสได้ 6 เดือน, Manuelle นักวิจัยไบโอชีวะจาก Toulouse และ Dominique ชายผู้รักไวน์ อาหาร การเดินทางและผู้คน เจ้าของร้านขายไวน์ที่ให้เราชิมไวน์ ชิมไปชิมมา ดื่มกันไปทั้งหมด 4 ชวด เล่นเอาทุกคนพูดจ้อไม่หยุด หยอกล้อกันสนุกสนาน เพราะเมาได้ที่... convivialite คือคำศัพท์คู่ควรกับกิจกรรมดื่มไวน์จริงๆ
Dominique ได้ให้ของขวัญหนึ่งชิ้นกับเรา นั่นก็คือ ปฎิทินดวงจันทร์ ของคนผลิตไวน์ฝรั่งเศส ซึ่งแบ่งช่วงเวลาตามการดูแลปลูกไวน์ เขาอธิบายว่า ถ้าหากผู้ผลิตไวน์ดูแลไวน์ใส่ใจมันตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการหมักไวน์ตามปฎิทินภูมิปัญญานี้ จะทำให้ได้ไวน์ที่มีรสหลากลหายนุ่มนวล ลุ่มลึก ต่างจากไวน์ห้องแล็ป ซึ่งมีไวน์ที่เขาให้ชิมเป็นเครื่องพิสูจน์ความรู้โบราณนี่ได้ดีหนักหนา... เราจากกันคืนนี้ด้วยความอิ่มเอมใจและนัดพบกันอีกทีคืนพรุ่งนี้สำหรับงานปาร์ตี้ขึ้นบ้านใหม่ของ Eleonaora สาวน้อยหน้าใสที่สัญญากับเฟย์ดิบดีว่าจะไปทำกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆด้วยกัน เป็นอีกวันที่ทำให้รู้สึกว่ามีความมหัศจรรย์อยู่ในทุกมุมถนนของปารีสหากเราเปิดใจและให้โอกาสกับตัวเองและผู้คนที่เราเดินสวนด้วย
 
 
 
23 มีนาคม 2556
 
ความเดิมจากตอนที่แล้ว... คืนวันก่อนที่ออกไปดื่ม apero (การดื่มแฮลกอฮอลก่อนทานข้าว ซึ่งเป็นธรรมเนียมคนฝรั่งเศส เป็นกิจกรรมทางสังคมสำหรับพูดคุยทำความรู้จัก) กับ Noppol Kobmoo และเพื่อนๆที่ร้านไวน์ Paris Terroir เมื่อคืนก็ได้รับเชิญไปปาร์ตี้ขึ...้นบ้านใหม่ของ Eleornora สาวชาว Bologna ซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ที่ปารีส เป็นปาร์ตี้กินดื่มที่ gastronomic มากๆ เริ่มจากจาน fromage (เนยแข็งจากทุกมุมของฝรั่งเศส) ดื่มกับไวน์แดง ซึ่งพวกเราได้ไปเลือกที่ร้านไวน์ของ Dominique (คนที่กำลังแร่แฮมขาใหญ่อยู่) บวกับขา ham Iberico ซึ่งเป็นแฮมสเปนซึ่งเฟย์ชอบมากๆเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว Eleonora กับเพื่อนไปแบกกันมาจากตลาดกลาง Rungis ตลาดที่อยู่ชานเมืองปารีส เป็นตลาดใหญ่คล้ายๆตลาดไทบ้านเรา มีของสดทุกอย่าง ตั้งแต่ขายส่งยันสินค้าพรีเมียมอย่างเช่นแฮมราคาแพงมากๆนี้ Iberico ทำมาจากหมูดำที่ได้รับการเลี้ยงดูปูเสี่อพิเศษ ให้กินอาหารพิเศษ เลยทำให้มีรสชาติพิเศษตามไปด้วย เมื่อก่อนสมัยอยู่ปารีส เฟย์จะชอบไปกินไวน์และแฮมนี้ที่ร้านไวน์บาร์แถว Odeon (ใกล้กับมหาลัยและโบสถ์ Notre Dame de Paris) ขื่อร้านว่า Da Rosa (แนะนำร้านนี้มากๆค่ะ สำหรับคนที่ชอบไวน์+แฮมสด ละเลียดพร้อมกับนั่งมองนักท่องเที่ยวและคนปารีสเท่ๆเก๋ๆ เดินผ่านไปมาในย่าน hip ) มาคราวนี้ ไม่ต้องไปเสียตังค์นั่งเท่ ได้หยิบทานมากเท่าที่ต้องการ ที่สำคัญ Dominique บอกว่า เวลาทานแฮมนี้ เราควรจะทานพร้อมๆกันทั้งเนื้อและมันที่ติดมาด้วย เพราะเวลาที่ทำแฮม เกลือจะไหลไปรวมที่เนื้อทำให้เนื้อเค็ม แต่ส่วนที่เป็นมันจะนิ่มและไม่เค็ม จึงต้องกินพร้อมกันเพื่อให้รสชาติมันบาลานซ์

นอกจากจานอาหารว่างในห้องนั่งเล่นเล้ว หนุ่มๆอิตาเลียนมาอัดแน่นกันอยู่ในห้องครัวลงไม้ลงมือนวดแป้งกันใหญ่ เตรียมทำเส้นสดสำหรับ Tagliatella โดยมีสาวฝรั่งเศสคุณแม่ลูกสอง Sophie (คนที่โพกหัวสีเขียว ลูกคนโตจะอายุ 18!!!) ร่วมลงมือแปลงก้อน Dough ให้เป็นเส้นโดยการใช้เครื่องรีดเส้น คล้ายๆกับเครื่องรีดปลาหมึกย่างบ้านเรานั่นเอง Sophie เป็นศิลปิน เธอถ่ายรูป ทำหนัง ปั้่นเผาเซรามิค แววตาของเธอเป็นประกายเมื่อเราพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอถามว่าฉันมาทำอะไร ฉันบอกเธอว่า ฉันมาตามหาแรงบันดาลใจ เธอตื่นเต้นกับคำตอบ จากนั้น บทสนทนาของเราก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและส่องประกาย เราแลกเปลี่ยนเบอร์โทร ฉันสัญญาจะไปเยี่ยมเธอที่ studio ทำงาน เธอสัญญาจะพาฉันไปมิวเซียมและทำกิจกรรมบันเทิงด้วยกัน ตลอดการทำเส้น เรามี Beni หนุ่มอิตาเลียนเจ้าเสน่ห์และพูดเก่งช่วยกำกับและสร้างเสียงหัวเราะ Beni พูดไม่หยุดเป็นภาษาอิตาเลียนบ้างฝรั่งเศสบ้างอังกฤษบ้าง บังคับให้เราเติมแก้วไวน์ไม่ให้ขาด แถมชวนสูบยาเส้นอีกจะหาก แต่พอทุนคนปฏิเสธ ไม่มีใครเป็นนักสูบ Beni ถึงกับผิดหวัง ไม่คิดว่าจะมีคนไม่สูบอยู่ เรียกความเห็นใจได้จากสาวๆไปโดยปริยาย

วันนี้ ก็เลยแฮงค์และตื่นสาย แต่พอเห็นแดดอ่อนๆนอกหน้าต่างแล้ว คิดว่าจะออกไปเดินเล่น เข้ามิวเซียม จิบ afternoon tea และนัดเจอน้อง @wattana francois xiver น้องคนไทยที่เคอเจอกันครั้งหนึ่งในโรงหนังอินดี้ตอนที่ฉันไปดูหนังของอภิชาติพงศ์สมัยที่หนังของเขาเริ่มฉายในฝรั่งเศส ... น่าจะเป็นวันสบายอีกวัน ก่อนฝนและความหนาวที่จะกลับมาเยือนปารีสในวันพรุ่งนี้ ตามพยากรณ์อากาศ
Afficher la suite
 
 
 
 
 
24 มีนาคม 2556
The Must ของ secret Paris ว่าด้วยร้านหนังสือ ร้านกาแฟและโรงอาหารของมิวเซียม
 
 

 
 
 

บ่ายวันนี้อุทิศให้กับย่านที่มีชื่อว่า Trocadero ปกตินักท่องเที่ยวจะมาที่นี่เพื่อถ่ายรูปกับหอไอเฟล เพราะที่นี่จะมีลานกว้าง (ชื่อว่า Esplanade de Trocadero) ซึ่งอย...ู่บนเนินเขาตรงข้ามกับหอคอยนี้พอดิบพอดีไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป souvenir ว่ามาถึงปารีสแล้ว และเป็นสถานที่ showoff ของพวกเด็กแว๊นเด็กสกอยปารีส (โชว์เต้น โชว์ร้อง สารพัดโชว์) แต่ขนานไปกับกิจกรรมท่องเที่ยว ย่านนี้จะเป็นที่ตั้งของกลุ่มตึกยุค 1937 ซึ่งเป็นทั้งมิวเซียม หอประชุมและโรงละครที่คนปารีสทั้งวัยรุ่น วันโต วัยเด็กจะมาทำกิจกรรมวัฒนธรรม โดยเฉพาะในวันเสาร์อาทิตย์อย่างนี้ คนจะแน่นเป็นพิเศษ

เฟย์เริ่มการเดินทางเชิงทัศนศิลป์ตรงทางออกเมโทร Alma Marceau (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ที่ Lady Diana ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิติ) เพืื่อเดินไปที่ Palais de Tokyo ซึ่งเป็นคล้ายๆกับหอศิลป์กทม.บ้านเรา คือเป็นสถานที่ของการสร้างสรรค์ศืิลปะร่วมสมัย ช่วงนี้มีนิทรรศการที่ชื่อว่า Soleil froid (Cold Sun) ซึ่งเป็นการสำรวจโลกที่แปลกประหลาด โดยได้แรงบันดาลใจจากนักเขียน Raymond Roussel ซึ่งเขียนเกี่ยวกับงานประพันธ์ไว้ว่า "จะต้องไม่มีสิ่งใดก็ตามที่มาจากความจริง" และงานชุดนี้ก็อ้างคำพูดของ Foucault เกี่ยวกับนักเชียนคนนี้ ว่าด้วย Paradoxal sun ... ตอนแรกเฟย์ตั้งใจจะเข้าไปดูนิทรรศการ แต่ทันทีที่หลบหนาวเข้ามาในห้องโถงของ Palais ก็ปะทะกับแถวผู้คนกำลังต่อคิวจะซื้อบัตรเข้าชม ทำให้เฟย์ถอดใจและหันเข้าไปหาร้านหนังสือแทน เฟย์ลืมไปแล้วว่าร้านหนังสือในมิวเซียมของปารีสนั้นน่าตื่นตาตื่นใจแค่ไหน ความพิเศษของมันนะเหรอค่ะ? ก็คือแต่ละมิวเซียมจะรวบรวมหนังสือเฉพาะทางจากทั่วทุกสนพ.มาไว้ที่เดียวกัน หนังสือเฉพาะทางที่หายากก็จะสามารถหาได้ตามร้านหนังสือพวกนี้แหล่ะค่ะ เช่น ร้านหนังสือของ Palais de Tokyo จะรวบรวมหนังสือว่าด้วยศิลปะร่วมสมัยมากมาย รวมไปถึงงานวิจารณ์ งานปรัชญา และพวกของกิปเก๋ hipster ทั้งหลาย อีกอย่างที่เฟย์ชอบมากที่นี่คือ เสาร์อาทิตย์พ่อแม่จะหิ้วลูกน้อยที่มีตั้งแต่เบบี้ สองสามขวบ ไปจนเด็กเกือบวัยรุ่น (พวกวัยรุ่นคงจะไม่ไปไหนเสาร์อาทิตย์กับพ่อแม่เท่าไหร่ ก็เลยไม่ค่อยเห็นมากับพ่อแม่) มาเที่ยวชมมิวเซียม แม้ว่าหัวข้อของนิทรรศการจะ hardcore จริงจังขนาดนี้ ก็เห็นลูกเล็กเด็กแดงเต็มไปหมด (อีกอย่างคือ ทุกมิวเซียมจะมีการออกแบบกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเดินชม คำอธิบายและพวก workshop ต่างๆ ซึ่งจะมีหัวข้อเกี่ยวกับหัวข้อของนิทรรศการ ที่ทำให้เด็กๆสามารถเดินชมได้อย่างสนุกและเหมาะสมกับวัยของพวกกเขา) ปรากฎการณ์นี้ทำให้ในร้านหนังสือจะมีโซนหนึ่งที่เป็นหนังสือเด็ก เฟย์ชอบมากๆไปพลิกดูหลายเล่ม มันเจ๋งมากค่ะ ทั้งในเรื่องของการดีไซน์ ทั้งความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหาที่ปลุกความคิด เห็นแล้วรู้สึกว่าเด็กเหล่านี้โชคดีจริงๆที่มีโอกาสได้เห็นและสัมผัสมุมมอง creative ตั้งแต่ยังเด็ก มีเล่มหนึ่งเป็นคู่มือสำหรับพ่อแม่ ชื่อทำนองว่า เราจะอธิบายศิลปะร่วมสมัยให่้ลูกๆฟังได้อย่างไร? นอกจากนี้ เฟย์ยังชอบดูพวก postcard เพราะจะมีภาพของงานศิลปะเก๋ๆเด็ดๆ แล้วก็พวกชั้นนิตยสาร ที่นี่รวบรวมนิตยสารศิลปะดีไซน์รวมแล้วกว่า 200 เล่ม เยอะมากจนตาลาย

ข้างๆร้านหนังสือ มักจะมีร้านกาแฟและโรงอาหารเสมอๆ เฟย์จำได้ว่าหนึ่งในร้านกาแฟที่สวยมากๆและราคาโรงอาหารคือ ร้านกาแฟของ Musee d'Orsay (มิวเซียมที่รวบรวมงานปลายศ.19 ถึงต้นๆศ. 20 ที่มีงานของพวก Impressionism) ส่วนของที่ Palais de Tokyo นี่ก็เท่เก๋และราคา decent มากเลยค่ะ มีการตกแต่งออกแนว pop art โดยเสน่ห์อยู่ที่กระจกซึ่งทำให้เรานึกถึงพวกกระจกของโบสถ์คาทอลิก แต่แทนที่จะเป็นกระจกสี ที่นี่เป็นกระจกลาย comics stripe ซึ่งน่าจะเป็นงานของ Litchenstein

หลังจากนั้น เฟย์ก็เดินไปที่ Musee de l'art modern de la ville de Paris ซึ่งอยู่อีกปีกหนึ่ง ตรงข้ามกับ Palais de Tokyo ร้านกาแฟของมิวเซียมนี้จะตั้งโต๊ะและเก้าอี้บนลานด้านนอก ซึ่งอยู่ระหว่างสองตึกนี้ มองจากลานจะเห็นแม่น้ำ Seine และหอไอเฟลอยู่ทางขวามือไม่ไกลนัก วันนี้อากาศค่อนข้างดี (มีแดดนิดหน่อย) ทำให้มีคนนั่งที่ลานนี้แน่นขนัด มิวเซียมนี้ ปกติเราจะสามารถเข้าไปชม permanent collection ได้ฟรีไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าเป็นพวกนิทรรศการชั่วคราว (ซึ่งมีทีละ 2-3 นิทรรศการ) จะต้องเสียเงินค่ะ ตอนแรกกะจะไปดูนิทรรศการงานชุด Women object ของ Linder ศิลปินหญิง feminist แต่เนื่องจากนัดกับน้องซ้ง Wattana François-Xavier ก็เเลยไม่น่าจจะดูทัน ก็เลยเข้าร้านหนังสือแทน ได้หหนังสือ Women art มาเฉยชมหนึ่งเล่ม

หลังจากเดินกลับไปที่ร้านกาแฟ Palais de Tokyo ดื่มกาแฟทานขนมแล้ว เฟย์ก็ชวนน้องซ้งเดินไปยัง Palais de Chaillot ซึ่งห่างไปประมาณ 15 นาที กลุ่มตึกนี้สร้างในยุคเดียวกันคือ 1937 ในโอกาส World Exhibition ตั้งอยู่ตรง Place de Trocadero มีสองปีก ปีกหนึ่งกำลังปิดซ่อมแซมเคยเป็น Musee de l'homme (พิพิทธภัณฑ์มนุษย์ ซึ่งข้าวของส่วนหนึ่งได้ถูกย้ายไปอยู่ที่มิวเซียม du quai Branly มิวเซียมมนุษยวิทยา ซึ่งสร้างใหม่ไม่ไกลจากหาไอเฟล) Musee de la Marine (พิพิทภัณฑ์ทะเล) และอีกปีกเป็น Cite de l'architecture et du patrimoine (ศูนย์สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน) ซึ่งมี Theatre de Chaillot (โรงละครไชโย) แทรกอยู่มุมหนึ่ง (จำได้ว่าเคยมาดูละครเวทีของ Bretch ที่นี่ เป็นโรงละครใหญ่พพอสมควร) เฟย์ชวนน้องซ้งเข้าร้านหนังสือของศูนย์ฯนี้ ตื่นตาตื่นใจมากเพราะเต็มไปด้วยหนังสือของสถาปัตย์ แปลนของตึกต่างๆ ที่เฟย์ชอบเป็นพิเศษคือพวกแบบของตึกเก่าของปารีส อย่างโบสถ์ วิหาร ฯลฯ และที่นี่เองที่เฟย์ได้ของฝากคุณลุงที่นับถือ เป็นโปสเตอร์รวมงานของ Le Corbusier นักออกแบบชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดัง ถือว่าเป็นเจ้าพ่อ modern building โปสเตอร์นี้จะเป็นของขวัญขึ้นบ้านใหม่ Villa Savoie ของคุณลุง (เฟย์เคยพาคุณลุงไปเที่ยวบ้าน Villa Savoie ที่ออกแบบโดยเลอ กอร์บุซิเย่ และเป็นแรงบันดาลใจให้คุณลุงสร้างบ้านในแบบเดียวกันแถวปทุมธานี ซึ่งเพิ่งจะเสร็จเมื่อไม่กี่เดือนมานี้) แต่ที่เด็ดสุดในตึกนี้ ซึ่งเฟย์ก็เพิ่งจะค้นพบเหมือนกันคือ ห้องสมุดเฉพาะทางของสถาปัตย์ urbanism ที่อยู่ชั้น 1 ซึ่งให้ทุกคนเข้าได้ฟรีค่ะ! เพียงแต่แลกบัตรประจำตัวไว้ที่บรรณารักษ์หนุ่มหล่อหน้าทางเข้า (น่ารักจริงอะไรจริง คุยกับเขาไปก็เขินไป ^^) ห้องสมุดนี้เลิศมากค่ะ มีหนังสือภาพมากมาย มีมุมนิตยสารและวารสารวิชาการ รวมไปถึงมุมดูดีวีดีทั้งหนัง ทั้งดีวีดีความรู้ทางสถาปัต์ ความมหัศจรรย์ของปารีสคือเรื่องโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้นี่แหล่ะค่ะ ดีวีดีพวกนี้มีโซนหนึ่งเขียนไว้ชัดเจนเลยว่าเป็น "ชั้นเรียนวิชาสถาปัตย์และการออกแบบ" คือเราสามารถ educate ตัวเองได้เองเลย อีกอย่างคือ เราจะเห็นผู้สูงวัยตามห้องสมุดฟรีเหล่านี้ ข้างๆไปกับเด็กนักเรียนวัยรุ่น เพราะคนแก่ที่นี่ เขามีเวลาและมักจะไม่หยุดเรียนรู้ (ใครว่าคนแก่ต้องเข้าวัดหรือกลายเป็นราษฎรอาวุโสเสมอไป)

ลองนึกดูซิค่ะว่าทุกมิวเซียม ทุกย่านมีห้องสมุด (ที่ีมีคุณภาพ หนังสือล้ำหน้า ไม่ว่าจะมีคนอ่านหรือไม่) เราเบื่อๆ หมดแรงบันดาลใจ แค่เดินเข้าไปน "พื้นที่" เหล่านี้ (เพราะเข้าได้ฟรี) เราก็จะกลับออกมามีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ เปิดโลกทัศน์ (เกร็ดอีกอย่างคือคนว่างงานที่นี่ก็จะได้รับบัตรเป็นคนตกงาน และสามารถเข้าชมมิวเซียมได้ฟรีทุกที่เลยค่ะ) การออกแบบและสร้าง "พื้นที่" ของการเรียนรู้ (ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเอื้อมถึงได้ นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับความเป็นประชาธิปไตยของเมืองมากๆเลยนะคะ) ยังไม่นับพวก seminar และ lecture ต่างๆที่มีให้เราเข้าได้ฟรี ตามศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัย สถาบัน ฯลฯ (ไว้ว่างๆจะเล่าให้ฟัง)

จริงๆมีเรื่องเล่าอีกเยอะ แต่เหนื่อยแล้ว เอาแค่นี้ก่อนนะคะ อ้อ อีกเรื่องคือ กลุ่มตึกเหล่านี้ หากเทียบกับเมืองไทยก็คือยุคสถาปัตยกรรมของคณะราษฎร จึงมีหน้าตาเหมือนตึกที่คณะราษฎรสร้างเปี๊ยบเลยค่ะ เราเห็นความเป็นสากลในรสนิยมตึกของคณะราษฯ (หรือจริงๆก็คือ เห็นการตาม trend การสร้างตึกตามสมัยนิยมสากล แต่ลำหน้ารสนิยมวัดวังเวียงแบบสยามนิยม หากเป็นสมัยนี้ ถ้าคุณสร้างตึกตามเทรนฝรั่งได้ จะกลายเป็นเก๋เท่ไป) เสียดายที่เมืองไทยไม่เห็นคุณค่า ตึกหลายตึกต้องถูกสังเวยเพราะการมองข้ามความสำคัญของประวัติศาสตร์ในบริบทของมัน (อย่างกรณี ศาลาเฉลิิมกรุ ตึกศาลฎีีกา ที่สนามหลวงล่าสุด)
Afficher la suite
 
 
26 มีนาคม 2556
 
 

เริ่มต้นที่ตลาดนัดของ vintage ในย่าน Marais ซึ่งอยู่กลางเมืองปารีส ใกล้ๆกับศาลาว่าการ...จังหวัด (Hotel de ville) เป็นย่านที่ hip ที่สุดย่านหนึ่งของเมือง เพราะมีร้านรวงเล็กๆแต่เก๋ไก๋ รวมถึงเป็นย่านที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นย่านของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันด้วย ตลาดนัดนี้จัดขึ้นที่ Espace Blancs Manteaux ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของตลาดปิด (คือมีหลังคา) เก่าแต่ตอนนี้กลายเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆตั้งแต่คอนเสริ์ตดนตรีบาร็อก, แร็พ, ละครเวที่ ไปจนถึง one man show วันนี้เป็นวันสุดท้ายสำหรับตลาด vintage เฟย์มากับเพื่อนอีตาเลียน Eleonora เสียค่าเข้าคนละ 3 ยูโร แต่ได้บรรยากาศ hipster และย้อนยุคมากๆ ข้างในมีขายเสื้อผ้ามือสอง ทั้งที่มียี่ห้อและไม่มี ที่มียี่ห้อนี่จะเป็นของสะสม ราคาค่อนข้างสูง เฟย์ชอบเพราะเหมือนกิึ่งๆพิพิทธภัณฑ์แฟชั่นเลย เพราะบนไม้แขวน เขาจะมีเขียนยี่ห้อและคอลเลชั่นว่าเป็นปีไหน นอกจากนี้ยังมีเฟอร์นิเจอร์ แว่นตา ที่จะแบ่งตามยี่ห้อและเขียนปีกำกับไว้ด้วย ในตลาดนี้มีสินค้าอันหนึ่งที่กิบเก๋มาก คือสินค้ายี่ห้อ Starwax ที่มีอายุเกือบร้อยปี เป็นสินค้าสำหรับคุณแม่บ้าน เขาเอามา rebranding ใหม่ให้ vintage เอานางแบบมาแต่งตัว ทำสีหน้าท่าทางให้เหมือนโปสเตอร์คุณแม่บ้านยุค 50 ที่สำคัญสินค้าเขาเป็นภูมิปัญญาแม่บ้านจริงๆ เขาแจกโบรชัวอธิบายสินค้าแต่ละอัน ทำมาน่ารักย้อนยุค แต่เต็มไปด้วยข้่อมูลน่าสนใจ เพราะบอก tips ในการใช้สินค้าต่างๆ เช่น โซดาไฟ ถ้าใช้เดี่ยวๆทำอะไรได้บ้าง หรือ ใช้สำหรับรอยเปื้อนหรือคราบสกปรกแบบใด (คราบเกรอะกรังกับมือจับประตู ก็อกน้ำ ต้องทำยังไง รอยเปื้อนบนเสื้อผ้่า ฯลฯ ดูได้ที่ starwaxfabulous.com) ลองนู้นลองนี่ สรุปได้รองเท้าบู้ตหุ่มข้อเท้าสดุเท่มาสองคู่ + กระเป๋าสะพายหนังอีกหนึ่ง

หลังจากนั้น เราก็ออกไปหาข้าวเที่ยง ตอนแรกเฟย์จะพาเพื่อนไปร้านชาที่ cosy มากๆ เขามีขายอาหารง่ายๆด้วย ซึ่งเป็นร้านที่เฟย์ชอบพาเพื่อนมานั่งกินขนมและกาแฟในวันอาทิตย์บ่าย ร้านราวงที่นี่มักจะปิดวันอาทิตย์ แต่ย่านนี้เป็นย่านที่ร้านเปิดและคึกคักมาก ทุกๆวันอาทิตย์เฟย์เลยจะมาเดินเล่น เข้าพิพิทธภัณฑ์ (มี Musee de Picasso, Musee du Carnavalet เล่าเรื่องประวัติเมืองปารีส เป็นต้น) แต่ปรากฎ พอไปถึงหน้าร้าน มีคิวยาวประมาณ 20 คนยืนทนหนาวอยู่ เฟย์กับ Eleonora เลยตัดสินใจเดินย้อนกลับไปกิน falafel ที่ร้านยิว ซึ่งมีประมาณ 6-7 ร้านบนถนนเส้นเดียวกัน (นอกจากจะเป็นย่านเกย์ ย่านนี้ยังเป็นย่านคนยิวอีกด้วย มี Synagogue ของคนยิว และร้านอาหารจะเปิดวันอาทิตย์) ปรากฎว่าหาร้านกินยากมากๆเพราะคนแน่นขนัด เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว เพราะ Lenny Kravis เคยมากิน falafel ร้านหนึ่ง แต่อยู่ใน guidebook ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวจะทุกเล่ม -*- เราสองคนเลยถอนใจ ไปหาร้านขนมปังง่ายๆทานกันไป

Eleonora เป็นสาวอิตาเลียนที่เดินทางไปใช้ชีวิตมาแล้วหลายประเทศ สมัยที่เธอทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เธอเดินทางไปตามแล็ปต่างๆทั้งใน california และในอเมริกาใต้ เราคุยกันหลายเรื่องพอพูดถึงเรื่องราวความรัก เธอเล่าว่าเธอจบเรื่องราวความรักไปเมื่อสองปีก่อน และเป็นสาเหตุให้เธอตัดสินใจเปลี่ยนชีวิต เริ่มต้นใหม่ในเมืองที่ไม่ใช่บ้านเกิดอย่างปารีส และจบลงที่ คนเราไม่สามารถได้อะไรทุกอย่างได้ บางครั้ง เราก็จำเป็นต้องเจอกับความผิดหวังเพื่อจะได้ตั้งสติ คิดทบทวนสิ่งต่างๆในชีิวิต เพื่อจะได้คัดและเลือกสิ่งที่เราควรจะต้องทำและอยากทำจริง เราคุยกันถูกคอมากๆ ครั้งแรกที่เราเจอกันในร้านไวน์ เฟย์ตกหลุมรักแววตาที่เป็นประกายและรอยยิ้มมีเสน่ห์ของเธอมาก ถึงขนาดคิดเลยว่าถ้าตัวเองเป็นเลสเบี้ยน จะต้องหลงรักสาวอิตาเลียนคนนี้แน่ๆ เราสองคนมีอะไรบางอย่างดึงดูดกันมาก แปลกนะคะ บ้างครั้งก็มิตรภาพนั้นก็เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ไม่ค่อยต่างจากเวลาเราตกหลุมรักผู้ชาย/ผู้หญิงเหมือนกัน เรียกว่าเป็น enchantment จริงๆเลยค่ะ เราแยกจากกันเพราะเฟย์ต้องรีบไปให้ทันอีกนัดกับเพื่อนคนฝรั่งเศส Antoine เพราะ Antoine จะพาเฟย์ไปร่วมเดินขบวนกับกลุ่มต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่ประตูชัย ใจกลางกรุงปารีส...to be continued


28 มีนาคม 2556  
 

 
นอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ ที่ปารีสมีการประท้วงครั้งใหญ่ของกลุ่มคนที่ต่อต้านกฎหมายการแต่งงานของเพศเดียวกัน นับว่าเป็นครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนัดประท้วงทั่วประเทศเมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อนคนฝรั่งเศสของเฟย์ Antoine ซึ่งทำงานที่บริษัท AXA ...และเป็นคนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิกค่อนข้างจะเคร่งครัด จะไปร่วมเดินประท้วงด้วย เฟย์เห็นเป็นโอกาสที่น่าสนใจ ก็เลยนัดแนะกับ Antione ว่าจะขอเข้าไปสังเกตการณ์ด้วยคน

การประท้วงของกลุ่มคนเห็นต่างนี้ใช้ชื่อว่า La Manif pour tous หมายถึงการประท้วงสำหรับทุกคน เป็นการเล่นคำกับสโลแกน Le Mariage pour tous ("การแต่งงานสำหรับทุกคน") ของฝ่ายที่สนับสนุนกม.การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน เขานัดกันที่ La Grande Arche de la Defense ซึ่งเฟย์เรียกเอาเองว่าเป็นประตูชัยยุคใหม่ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของปารีส ในย่านโมเดิร์นที่เรียกว่า La Defense (ลา เดฟอง ใช่ค่ะ ชื่อเดียวกับอาบอบนวดเมืองไทยนั่นแหล่ะค่ะ สำเนียงคงฟังดูฝรั่งเศสดี คล้ายกับเอมมานูแอล หนัง cult อีโรติกกระมังค่ะ เราก็เลยตั้งให้่เป็นชื่ออาบอบนวดเสียเลย) ย่านนี้เป็นย่านที่เกิดจากแนวคิดการพัฒนาเมืองในปลายทศวรรษ 50 จากที่เคยเป็นย่านของโรงงานและฟาร์ม ก็ถูกเปลี่ยนใหม่ภายใต้แนวคิด urbanisation ให้กลายเป็นย่านธุรกิจ 30 ก.ม.จากใจกลางเมืองปารีส ไปถึงได้ด้วยรถเมโทรสาย 1 สุดสายที่นี่ เราจะเห็นตึกสูงเสียดฟ้าแบบอเมริกาเฉพาะในย่านนี้เท่านั่้น (ในปารีสมีกม.ห้ามสร้างตึกสูง ยกเว้นตึก Montparnasse ตึกเดียวเท่านั้นที่สูงหลายสิบชั้นในปารีส) ส่วนไอ้เจ้าประตูชัยใหม่นี้เกิดขึ้นจากการประกวดออกแบบในปี 1982 ตามล่าหาสิ่งก่อสร้างระดับชาติสำหรับเป็นประตูชัยแห่งยุคศ.ที่ 20 ซึ่งเป็นโครงการของปธน.ฟรองซัว มิแตร์รอง (ปธน.ฝ่ายซ้ายคนนี้ มีไอเดียกระฉูดเรื่องทางศิลปวัฒนธรรมที่ล้ำกว่ายุค ไม่ใช้ตอกย้ำความโบราณแบบบ้านเรา แต่เป็น "วิสัยทัศน์" ที่มองไปข้างหน้า ห้องสมุดแห่งชาติซึ่งเป็นตึกล้ำๆอีกฝั่ง ทางตะวันออกสุดของปารีสก็ตั้งชื่อตามแกว่า Bibliotheque Francois Mitterand) แบบของสถาปนิกดูโอชาวเดนิชก็ชนะเลิศไป ออกมาเป็นประตูชัยล้ำยุคอย่างที่เห็นและตั้งอยู่เป็นเส้นตรงที่ลากมาจากพีรามิดหลักใจกลางพระราชวัง Louvre ผ่านประตูชัยเล็กสีชมพูที่สวน Tuileries ใกล้ๆกับพีรามิดของ Place de la Concorde ต่อเป็นเส้นตรงมายังถนนชองเซลิเซ่ สู่ประตูชัยของนโปเลียน พุ่งตรงมายังประตูชัยลาเดฟองซ์ เรียนว่า axe historique เส้นตรงประวัติศาสตร์

กลับมาที่นัดประท้วงของเฟย์ต่อ เรานัดเจอกันที่ La Grande Arche de la Defense (ประตูชัยใหม่นี้) แต่เฟย์ดันจำผิดเป็นประตูชัยเก่า (Arc de Triomphe des Etoiles) กะจะลงเมโทรที่ป้ายนี้ แต่ปรากฎว่าเสียงประกาศในรถเมโทรประกาศว่าทุกป้ายบนถนนของเซลิเซ่ปิดทำการ ทำให้เฟย์ต้องไปลงป้าย Porte Maillot ซึ่งห่างจากประตูชัยเก่าสองป้าย (ประมาณ 1-1.5 โล) ปรากฎว่าทันทีที่เฟย์ลงจากเมโทรปุ๊บ ก็เจอะเจอกับผู้คนที่เดินมาพร้อมป้ายต่อต้านการแต่งงานอย่างเพียบค่ะ มีทั้งกลุ่มหนุ่มๆชายฉกรรจ์ และกลุ่มครอบครัวที่ยกกันมาทั้งตระกูล ยังไม่ทันเดินขึ้นสู่พื้นผิวถนน ก็ได้ยินเสียงกึกก้องกังวาน ทันทีที่โผล่สู่แสงสว่างของกลางวัน เฟย์ก็ต้องผงะกับผู้คนมากมายและเสียงดัง ภาพที่เห็นคือ กลุ่มทีมงานที่เป็นอาสาสมัครหนุ่มสาวสวมเสื้อหลากสี ฟ้า เหลือง ชมพู ยืนกั้นเป็นแนว โดยมีประชาชนผู้ฮึกเหิมยืนหลังแนวกั้น พร้อมป้ายแสดงออกแน่นขนัด ทั้งด้านที่ไปยังประตูชัยใหม่ และด้านที่ไปยังประตูชัยเก่า ทุกคนหันหน้าไปทางประตูชัยเก่า เตรียมพร้อมเพื่อรอสัญญาณปล่อยแถวให้เดินไปยังจุดหมาย เฟย์หาที่มาของเสียง ปรากฎว่ามันมาจากลำโพงใหญ่ที่แขวนเป็นพวงอยู่บนปลายเครนเฉพาะกิจที่ตั้งอยู่กลางถนน ด้านหน้าของแนวกั้นมีจอโทรทัศน์ใหญ่มหึมาถ่ายทอดสดผู้ดำเนินรายการบนเวทีหลักหน้าประตูชัยใหญ่ มัน amazing มากจริงๆค่ะ สำหรับการจัดตั้งและการเตรียมงาน ทั้่งอุปกรณ์เครื่องเสียงครบครัน ซึ่งต่อมาเฟย์จะพบทั้งจอใหญ่และลำโพงอยู่ตลอดทางหลายกิโลเมตรซี่งมุ่งหน้าไปประตูชัย ทั้งทีมงานอาสาสมัครหลายพันคนที่ใส่เสื้อยืดเครื่องแบบและคอยจัดแจงทั้งอำนวยความสะดวกและกั้นผู้คนให้อยู่ในโซนที่จัดให้

สำหรับคนที่เข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้ เฟย์สังเกตเห็นแต่คนขาว ชนชั้นกลางและมากันเป็นครอบครัว มีลูกเล็กเด็กแดง เต็มไปด้วยรถเข็นเด็ก ส่วนวัยนั้นก็มีทุกวัยเลยค่ะ ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่นก็เยอะ ไปจนถึงคนแก่ที่มีมากไม่แพ้วัยอื่นเลย กว่าเฟย์จะเจอกับ Antoine ได้ก็ปาเข้าไปเกือบชม. เพราะ Antoine เดินมาจากฝั่งประตูชัยใหม่ (ซึ่งห่างจากที่เฟย์ยืนประมาณ 3-4 โล) ซึ่งเขาก็บอกว่าคนเยอะมากเหมือนกัน ระหว่างรอเพื่อน เฟย์สังเกตเห็นป้ายต่างๆที่เขาถือกันมา เช่น
Touche pas à ma filiation
Vive la parité et d'abord dans le mariage
Papa+maman y pas p-mieux pour un enfant
Non au mariage mirage
Stop le déni de la réalité
Touche pas au mariage occupe-toi du chômage
Kid's rights
จะเห็นว่าในป้ายนั้น เราจะเห็น position และ argument เฉดต่างๆของคนที่เข้าร่วมการประท้วงในครั้งนี้ มีตั้งแต่ พวกที่ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานเลย พวกเห็นด้วยกับความรักและการแต่งงาน แต่ไม่เห็นด้วยกับการรับเลี้ยงบุตรและ procreation medicalement assistee (การช่วยทางการแพทย์ให้ตั้งครรภ์) หมายถึงการที่คู่รักเพศเดียวกันจะต้องไปหาอสุจิหรือหาผู้หญิงช่วยอุ้มบุญให้ ซึ่งกม.ตัวนี้ยังไม่ได้พูดถึง แต่คนที่ต่อต้านบอกว่า เมื่ออนุญาตให้มีการแต่งงาน ก็ย่อมหมายถึงการเปิดทางให้มีการรับบุตรและการตั้งครรภ์ที่ได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ จะนำไปสู่การ shopping เด็กเหมือนในซุปเปอร์มาเก็ต จะนำไปสู่การซื้อขายเด็กในที่สุด เพราะยังไงๆในฝรั่งเศส การอุ้มบุญคงจะยากที่จะทำให้ถูกกม.ได้ ดังนั้น คู่เกย์เลสเบี้ยนก็จะต้องไปหาคนอุ้มบุญแบบผิดกม. อะไรคือเพดานและกฎเกณฑ์สำหรับปัญหาข้างเคียงเหล่านี้ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสเองก็ไม่มีความชัดเจน (ซึ่งจุดนี้เฟย์ก็เห็นว่ามันมีปัญหาและคำถามที่ relevant อยู่มากๆ) ส่วนหลายคนเห็นว่าโมเดลรูปแบบในการเลี้ยงดูบุตรคือ พ่อ (ชาย) บวก แม่ (หญิง) เด็กที่เกิดจากอสุจินิรนามหรือเกิดจากแม่อุ้มบุญก็จะเกิดความสับสนเรื่องอัตลักษณ์ของตัวเอง เฟย์ก็ตั้งคำถามในใจว่า อ้าว แล้วครอบครัวพวก single mom single dad ล่ะ จะถือว่าพวกเขาไม่ตรงตามโมเดลด้วยหรือเปล่า? เด็กกำพร้าล่ะ? ความสับสนเรื่องอัตลัษณ์ดูน่าสงสัยมาก เพราะเฟย์เองเกิดมากับครอบครัว hetero ก็ยังมีความสับสนเลย มันไม่แน่เกี่ยวกับโมเดลรูปแบบนี้เปล่า?

สุดท้าย เฟย์กับเพื่อนก็เดินกันไปถึงประตูชัยเก่าในทึ่สุด เบียดเสียดคนเข้าไป คนเยอะมากๆๆๆๆๆอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน ผู้จัดประเมินว่าเป็นล้านคน (น่าจะหลายแสนอยู่) ส่วนทางการก็ประเมินแค่ไม่กี่แสนอย่างเคย (ณ จุดนี้ เหมือนกันทุกประเทศ) ส่วนบนเวที ก็จะมีทั้งนักการเมือง(ส่วนใหญ่ฝ่ายขวา ถ้ามีฝ่ายซ้ายขึ้นมา คนจะเฮเป็นพิเศษ เพราะมีนักการเมืองฝ่ายซ้ายไม่กี่คนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ของปธน.ของพรรคตัวเอง) นักศาสนา (มีตัวแทนของมุสลิมด้วย เพื่อนเฟย์บอกว่าให้ นี่ไง หลักฐานว่า ขบวนการไม่ได้มีแต่คาทอลิกอย่างที่เขากล่าวหาพวกเรานะ) นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผลัดกันขึ้นมาปราศรัยบนเวที สลับกับภาพ footage หรือบางทีก็เป็นกึ่งๆ ad โฆษณา ที่ทำให้เฟย์ตะลึงในการเตรียมพร้อมเรื่องการจัดตั้งจริงๆ มีนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีตรมต.ในรัฐบาลของอดีตปธน.ฝ่ายขวา Sarkozy และเป็นคนที่ร่างสุนทรพจน์ต่างๆให้ Sarkozy ขึ้นมาอ่านสุนทรพจน์ที่ร่างมาอย่างดี ใส่อารมณ์และเรียกเสียงปรบมือและความฮึกเหิมให้กับผู้เข้าร่วมได้ดีมากๆ เป็นสุนทรพจน์ที่เต็มไปด้วยวาทกรรมการปฎิวัติ พูดถึงเรื่องการที่รัฐบาลเซ็นเซอร์สื่อในการเสนอข่าวสนับสนุนพวกเค้า พวกถึงการที่พวกเขาจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับความฉ้อฉลของอำนาจนำ ฯลฯ เรียกว่าทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย เมื่อมาเดินขบวนประท้วง จะหยิบใช้ชุดคำและชุดความคิดเดียวกัน

ส่วนที่เฟย์ประทับใจการเดินขบวนครั้งนี้ ก็คือ บรรยากาศสนุกสนาน ฮึกเหิมของคนที่อาจมี position เฉดที่ค่อนข้างต่างกันเกี่ยวกับการแต่งงานของเพศเดียวกัน แต่มารวมตัวกันเพราะจุดร่วมเดียวกัน คือ การปกป้องคุณค่าทางสังคมที่พวกเขายึดถือ (ซึ่งสำหรับเฟย์ เฟย์เห็นต่างอย่างสิ้นเชิง) อีกอย่างคือ ประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่แบ่งสังคมฝรั่งเศสออกเป็นสองขั้วอย่างรุนแรงและไม่มีทางประสานจุดร่วมได้ (ซึ่งบนเวทีก็พูดถึงประเด็นนี้) แต่เค้าก็ใช้วิถีทางทางประชาธิปไตย คือการแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วย เรียกร้องให้ปธน.ใช้่อำนาจที่ีอยู่ในมือยุติกระบวนการ และท้ายสุดคือเรียกร้องการทำประชามติ ไม่มีการเรียกร้องการรัฐประหารหรือตุลาการภิวัติ ไม่มีการเรียกร้องอำนาจนอกระบบ ส่วนฝ่ายรัฐบาลเองนั้น ก็เห็นว่าการผลักดันกม.นี้อยู้ในอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะผลัดกันต่อไปตามช่องทางที่มีอยู่โดยไม่แยแสเสียงเรียกร้องกดดัน (เพราะเป็นนโยบายหาเสียงที่ทำให้ปธน.โอลองด์ได้รับเลือกเข้ามา) นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเสียงเป็นล้านๆที่ไม่เห็นด้วยกับการออกกม. ตอนปธน.ฟรองซัว มิแตรรอง ออกกม.ยกเลิกโทษประหารชีวิต คนฝรั่งเศสจำนวนมาก (เสียงส่วนใหญ่เลยด้วยซ้ำ) ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก แต่ปธน.เขาก็ทำไป เพราะน่ี่คือ "เรื่องการเมือง" ค่ะ กม.นี้ไม่ใช่แค่เรื่องทางสังคม แต่เป็นเรื่องทางการเมือง เป็นเรื่องของการหาเสียง พอๆกับเรื่องของการขยายสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย

ทำให้เฟย์นึกถึงไอเดียเกี่ยวกับ "ประชาธิปไตย" ของนักปรัชญาฝรั่งเศส Claude Lefort ที่มีชื่อเสียงจากข้อคิดเกี่ยวกับ "อำนาจนิยม" (totalitarism) ในเลคเชอร์ของอาจารย์ปรัชญา Patrick Hochart หัวข้อ "สิทธิมนุษยชนกับประชาธิปไตย" ที่เฟย์พึ่งไปฟังมาวันนี้ ที่หอสมุดแห่งชาติ Francois Mitterand (เป็นหนึ่งหัวข้อของวิชาเรียนปรัชญาที่เปิดให้ประชาชนเข้าฟรีทุกวันพุธ Cours methodique et populaire de philosophie อาทิตย์หน้าก็จะไปค่ะ หัวข้อคือ เราจะคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้อย่างไร) หนึ่งในข้อสรุปเกี่ยวกับดีเบตเรื่องสิทธิมนุษยชนกับประชาธิปไตยเขาว่า มันมีพลวัตอยู่ในเรื่องของสิทธิมนุษยชน มีการขยายขอบเขตไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุด (เช่นเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน) และพลวัตนี้มาคู่กับชีวิตทางประชาธิปไตย ในขณะที่ความพยายามหยุดพลวัตนี้ก็มักจะมาคู่กับความเกลียดในประชาธิปไตย
 
 
 
 2เมษายน 2556  กลับมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ฝรั่งเศส
 


 
 
กลับสู่บ้านน้อยในป่าใหญ่ ณ หมู่บ้าน Savonniere : ออกเดินทางจากสถานี Montparnasse ทางใต้ของปารีสด้วยรถไฟความเร็วสูง TGV ราคาชั้นสอง 45 ยูโร (ประมาณ 1800 บาท เทียบกับราคากาแฟเอกเพรสโซแก้วละ 1.80-2 ยูโร ก็ถือว่าไม่ถูกนะคะ) ใช้เวลา 1 ชม. (ระยะป...ระมาณ 200 กม.) ไปถึงสถานีปลายทาง St Pierre des Corps ใกล้กับเมือง Tours (ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวสำหรับประสาทริมแม่น้ำลัวร์ ซึ่งโด่งดังมาจาก Francois ที่ 1 ของฝรั่งเศสในยุค Renaissance ซึ่งรัชสมัยพระองค์ถือเป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรม สมัยนั้นกษัตริย์ยังไม่ได้เลือกปารีสเป็นที่อยู่ถาวร แต่จะย้ายที่อยู่จากปราสาทหนึ่งไปสู่ปราสาทหนึ่ง ทำให้มีปราสาทแถวนี้ประมาณ 10 ปราสาท และหนึ่งในนั้นคือ Usse เป็นต้นแบบให้กับปราสาทของ Walt Disney และปราสาทของเจ้าหญิงนิทรา Leonardo da Vinci ก็มีบ้านอยู่ใกล้ๆเมืองนี้ และตายที่นี่ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นมูเซียมโชว์ผลงานประดิษฐ์ของเขา ถ้าไปเราเยี่ยมชม จะมีเรื่องเล่าว่ามีเส้นทางลับใต้ดินสำหรับให้ Francoisที่ 1 มาเยี่ยมเขาจากปราสาท Ambroise ใกล้ๆ) พ่อฝรั่งเศสของเฟย์ Christian มารับด้วยรถเรอโน รุ่น Picasso พาตรงกลับไปยังบ้านที่คุ้นเคยที่หมู่บ้าน Savonnieres ที่ซึ่งเฟย์จะมานอนค้างทุกวีคเคนตลอดปี 1998 ปีแรกที่มาเรียนภาษาที่เมืองนี้และได้รู้จักกับสองสามีภรรยาตระกูล Reau ผ่านสมาคมรับรองเด็กต่างชาติ จากวันนั้นถึงวันนี้ บ้านหลังนี้ก็ให้ความรู้สึกอบอุ่นไม่ต่างเลยแม้แต่น้อย

โต๊ะอาหารถูกจัดสบายๆ โดยมี Monique เป็นคนเตรียมอาหารฝรั่งเศสสไตล์ home made และมี Fongfong นักเรียนชาวจีนคนปัจจุบันที่ครอบครัวรับดูแลถ่ายทอดภาษาและวิถีชีวิตของพวกเขา คอยเป็นลูกมือให้ เราพูดคุยและ update เรื่องราวชีวิตบนแก้วไวน์แดงที่ Christian คอยเติมไปหยุด แถม Monique รู้ใจเตรียมเนยแข็งที่เฟย์ชอบมากๆและเป็นสินค้า Otop ของแถบนี้ไว้ให้ด้วย นั่นก็คือ Fromage de chevre เนยแข็งจากนมแพะ กินกับขนมปังบาแก็ตใหม่ๆ อร่อยเลิศมาก รู้ตัวอีกทีก็ใกล้เที่ยงคืนและทุกคนเริ่มเหนื่อย แถมพรุ่งนี้มีอาหารมื้อสำคัญคือ Easter lunch รอคอยเราที่บ้านของพ่อแม่ Christian อีกตะหาก ก่อนขึ้นห้องนอนประจำของเฟย์บนชั้นสอง ทุกคนเตือนว่าอย่าลืมปรับเวลาบนนาฬิกาให่้เร็วขึ้น 1 ชม. (ทุกคืนวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคมของทุกปี ฝรั่งเศสจะต้องปรับเวลาเป็นเวลาฤดูร้อน) นั่นเท่ากับว่าเฟย์เสียเวลานอนไป 1 ชม. !
เช้าวันต่อมา Christian ออกไปซื้อขนมปัง croissant เตรียมไว้ให้สำหรับมื้อเช้า เฟย์กินกับกาแฟ "ถ้วย" ใหญ่ ใช่ค่ะ คนฝรั่งเศสจะทานข้าวเช้า คือขนมปังกับกาแแฟ filter ถ้วยใหญ่ๆเหมือนซุปเลย และนอกจากนี้ยังเตรียมของขวัญ surprise ลูกสาวขาวไทยที่กลับมาเยี่ยมบ้านด้วย น่ันคือ ชอกโกแลตรูปหมาตัวใหญ่ โดยที่ข้างในมีเสียง เพราะจะมีไข่ชอกโกแลตอยู่ เพราะวันนี้เป็นวัน easter ตามธรรมเนียม เด็กๆจะต้องไปตามหาไข่ชอกโกแลตในสวน (เมื่อก่อนเป็นไข่ไก่ต้มสุกและตกแต่งสีสันลวดลาย) ตามความเชื่อที่ว่ากระดิ่งซึ่งเดินทางมาจากกรุงโรมเพื่อประกาศข่าวการฟื้นคืนชีพของพระเยซูไปทั่วโลกนั้นจะเอาไข่มาแจกตามบ้านต่างๆ (น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต อันนี้คิดเอาเอง แต่อย่างไรก็ดีประเพณีนี้มีก่อนการเกิดของศาสนาคริสต์ เป็นประเพณี profane ที่ถูก appropriate โดยศาสนาคริสต์คล้ายกับหลายๆประเพณี ส่วนในชนชั้นสูง เขาจะให้ไข่แพงๆ คือไข่แกะสลักจากหินมีค่า ทอง เงิน ต่างๆ) เป็นอันว่าเฟย์ก็เลยได้ไข่รูปหมามากับเขาด้วยคน
หลังจจากนั้น เราออกจากบ้านพร้อมอาหารกลางวันที่ Monique เตรียมไว้ตั้งแต่เมื่อคืน เพื่อไปกินกันที่บ้านของพ่อแม่ Christian ซึ่งอยู่ในเมือง Tours คุณปู่คุณย่าย้ายจากบ้านมาอยู่อพาร์ตเม้นต์ เพราะอายุเกือบ 90 กันหมดแล้ว ขึ้นบันไดไม่ไหว และมีเพื่อนบ้านชื่อ Jean-Luc อดีตช่างตัดผมเป็นคนซื้อขนมปังมาให้ทุกเช้า ซึ่งเราเชิญมาทานข้าวด้วยกัน แน่นอนว่าเมื่อไปถึง เราเริ่มด้วยการทานอาหารเรียกน้ำย่อยและ aperitif แอลกอฮอล์ (เป็นพวก Spirit) แล้วถัดมาเราทานอาหารอีก 5-6 จาน แน่นอนว่ามีตับห่านด้วย เพราะถือเป็นอาหารชั้นราคาสูงสำหรับเทศกาลงานเลี้ยง และมี Pathe de Paques คือขนมปังอีสเตอร์ ทำโดย Monique ข้างในจะมีไข่้ต้มล้อมรอบด้วยไส้ที่ทำจากเนื้อวัวและแกะผสมกับพวกเครื่องเทศ ถือเป็นจานพิเศษที่ทานเฉพาะเทศกาลนี้ จากนั้นจากหลักเป็น Ris de Veau คือต่อมไทมัสของลูกวัว (ต่อมไร้ท่อที่อยู่หลังกระดูกหน้าอก) ต้มกับเห็ดและ bacon ใส่บรันดีรสส้ม (Grand Marnier) ขอบอกว่าอร่อยมากกกกกกกก รสชาติมันๆกรุบๆ หลังจากนั้นก็ตามด้วยจานของเนยแข็ง ตบท้ายด้วยสลัดผลไม้ไลท์ และกาแฟ สริเวลาอาหารกลางวันของเราตั้งแต่ก่อนเที่ยงยันสี่โมงเย็น
เป็นมื้ออาหารที่สนุกสนาน อบอุ่น เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เราลาจากคุณปู่ย่า ไปต่ออีกบ้านหนึ่งฝั่งตระกูลของ Monique บ้าง พอไปถึงพวกเขายังอยู่กันที่จานขนนมหวานอยู่เลย มีกันทั้งหมดรวมยี่สิบกว่าคน บ้านนี้มีหมาลายจุดตัวใหญ่สูงเท่าหน้าอกเฟย์ชื่อฟลลาก (Flaque) น่ารักมากๆ เฟย์และฟองฟอง สาวจีนตามหลานๆขึ้นไปชั้นสองไปยังห้องเกม ที่เต็มไปด้วยโต๊ะบิลเลียดด ปิงปอง babyfoot และเกมๆต่างมากมาย หลังจากเล่นปิงปองสองสามแปะ เราก็ถูกผู้ใหญ่ตามลงไไปเล่นเปตองที่ถนนหน้าบ้านซึ่งถูกแปลงเป็นสนามแข็งจำเป็น นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เฟย์เล่นเปตอง แต่ครั้งนี้ทุกคนพพยายามอธิบายกติกาจนเฟย์เข้าใจ และทำให้เล่นสนุกมากๆ สรุปทีมเฟย์ชนะด้วยคะแนน 11 ต่อ 9 โดยเฟย์ทำคะแนนให้ทีมได้ 3 คะแนน ภูมิใจจริงๆ คริๆ
เรากลับมาถึงบ้านประมาณทุ่มครึ่ง และก็ถึงเวลาทาานข้าวเย็นอีกแล้ว แต่พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่าไม่สามมารถทานอะไรหนักได้อีกแล้ว ก็เลยจบลงที่ซุปเห็ดคนละถ้วย
เป็นวันที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยบรรยากาศดีๆจริงๆค่ะ Christian และ Monique ดีใจที่เฟย์กลับมาเยี่ยมพวกเขา เฟย์เองก็เช่นกัน บนโต๊ะอาหารมื้อเย็น เราพูดคุยเรื่องที่ลึกซึ้ง เรื่องการตายของคนที่เรารัก เรื่องปัญหาในชีวิตของเรา เรื่องความรู้สึกและประสบการณ์ชีวิตที่เพิิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเส้นทางชีวิตซับซ้อนขึ้น เฟย์เล่าถึงสิ่งที่เฟย์ทำหลังจากกลับไปเมืองไทย พวกเขาภูมิใจและเรียกเฟย์ว่า สาวนักปฏิวัติ เฟย์พูดถึงสัจธรรมที่เฟย์ได้เรียนรู้จากการสูญเสียซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าไม่มีอะไรที่มีความหมายกับเฟย์เท่ากับความซื่อสัตย์ต่อความเชื่อและความรู้สึกของตัวเอง ว่าเฟย์เรียนรู้ว่าทุกอย่างไม่ยั่งยืนจริงๆ ไม่ใช่พูดลอยๆแต่พูดจากประสบการณ์ที่พบพาน เราหยอกล้อแกล้งทะเลาะกันสลับการโอบกอดและการหอมแก้มที่อบอุ่น ส่วนฟองฟอง สาวจีนผู้มาจากแคว้น Inner Mongolia นั้น เธอเต็มไปด้วยคำถามตั้งแต่ได้มาอยู่ที่นี่ เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวต่อตัวเองเมื่อได้รับรู้และแลกเปลี่ยนกับสังคมฝรั่งเศสรอบตัวเกี่ยวกับแง่มุมที่ถูกปิดทับของประเทศจีนบ้านเกิด ว่าเหตุใดเธอจึงได้ถูกปิดหูปิดตามากขนาดนี้ พวกเราบอกเธอให้ใจเย็น เฟย์บอกเธอว่าเฟย์ก็เคยผ่านประสบการณ์์คล้ายๆกัน สิ่งที่เฟย์ทำก็คือพยายามหาคำตอบให้กับคำถามด้วยการอ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศตัวเอง เพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลและมุมมองจากหลายๆทาง เพื่อมีองค์ความรู้มากพอจะตัดสินด้วยตัวเองและเลือกสิ่งที่เเรารู้สึกว่าคือเรา แต่ที่สำคัญคือ เราต้องให้ "เวลา" กับเราเองด้วย อย่ารีบร้อน ประสบการณ์ชีวิต การอ่านหนังสือ การเรียนและวิเคราะห์จะเปิดทางให้กับเราเอง
เราแยกย้ายไปนอนตอนห้าทุ่ม และสัญญากันว่าเช้าวันอาทิตย์เราจะไปเดินเล่นตามคำชวนของเฟย์ที่บ้านของกวี Ronsard ชื่อว่า Prieure St Cosme ใกล้กับเมืองตูร์...
 
 
 
2 เมษายน 2556  นัดกับโซฟี
 

 
 
 
นัดเดทกับโซฟี เพื่อนสาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นทั้งศิลปิน ช่างภาพ ผู้กำกับหนัง เธอทำทุกอย่างตั้งแต่ถักไหมพรม ปั้นเซรามิคยันเต้นรำอัฟริกันแจ๊ส เช้านี้ เรานัดเจอกันที่หน้ามูเซียมดอร์เซ่ (Musee d'Orsay) ริมแม่น้ำลัวร์ พิพิทธภัณฑ์ศิลปะศ.ที่ 19-ต้น20 นี...้ถูกดัดแปลงมาจากสถานีรถไฟเก่า ซึ่งยังคงโครงสร้างและสถาปัตยกรรมบางชิ้นไว้ เฟย์ไปถึงเวลาเปิด 9.30 ก็มีคิวนักท่องเที่ยวยาวประมาณ 100 คน โชคดีที่โซฟีมีบัตรสมาชิกพาเพื่อนเข้าได้หนึ่ง เราสองคนก็เลยเข้าทางพิเศษฉลุย ทำไมถึงมีคนเยอะอย่างนี้น่ะหรือค่ะ? ก็เพราะที่นี่มีคอลเลคชั่นของกลุ่มศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ (มาเน่ โมเน่ เรอนัวร์ โกแกง เซซาน) รวมไปถึงงานของแวงโก๊ะ เราสองคนเดินดูงานไปคุยแลกเปลี่ยนกันไป งานศิลปะเหล่านี้ ก็เหมือนกับคนค่ะ หลายงานที่เคยเห็น เราคิดว่าเรารู้จักเขาดี แต่มาพบมาเจอกันอีกที เรา"ทำความรู้จัก" กับเขาใหม่เหมือนครั้งแรกเสมอ เพราะความทรงจำเราเลือกจำและจำได้เพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น เฟย์ตกหลุมรักแวงโก๊ะทุกครั้ง เลอ ดัวนิเย่ รูสโซเป็นอีกคนที่เฟย์หลงใหล นอกจากคอลเลคชั่นประจำ เรายังเข้าไปดูงานนิทรรศกาลพิเศษเกี่ยวกับภาพนรกๆปีศาจๆของพวกโรแมนติก (ต้นศ.19) และซิมโบลิก (ปลายศ.19) งานพวกนี้ทั้งสร้างความหวาดกลัว แต่ก็น่าหลงใหลดึงดูดเช่นเดียวกัน มีธีมเกี่ยวกับนรก ตามจินตนาการของกวีอิตาลียุคเรอแนสซอง Dante มีเมดูซ่า นางผู้มีศรีษะเป็นงู มีภาพตามเฟาสต์ขอฃเกอเต่ ฯลฯ เต็มำปด้วยความขนพองสยองเกล้า แต่เฟย์ชอบมากๆมันโกธิคดี เราพักเหนื่อยทางอารมณ์กันด้วยกาแฟและขนม Baba au rhum ที่ร้านกาแฟชั้น 5 หลังนาฬิกาเรือนใหญ่ของสถานีรถไฟ ร้านกาแฟถูกตกแต่งทันสมัยเปิดรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาท้าทายนักท่องเที่ยวให้อยากกระโดดออกหน้าต่างเหอะไปหาโบสถ์หัวใจอันศักดิ์สิทธิ์ Sacre Coeur ทางตอนเหนือของปารีสซึ่งตั้ฃตระหง่านเยาะเย้ยสายตาของเรานอกหน้าต่างชั้น 5
หลังจากนั้น เฟย์ก็ไปทานข้าวกลางวันที่อพาร์ตเม้นต์ของโซฟี ทางตอนเหนือของปารีส มี 'มายา' ลูกสาววัย 12 ปีของโซฟีจัดโต๊ะไว้รอวัยรุ่นหนีเที่ยวสองคน บ้านของโซฟีเล่นเอสเฟย์หยุดหายใจ ด้วยวิวที่มองออกหน้าต่าฃข้างโซฟาหลุยส์ 15 เห็นหอไอเฟล โบสถ์หัวใจศักดิ์สิทธิ์ ย่านธุรกิจลาเดฟองซ์ และปารีสทั้งเมือง ยังไม่หมด การตกแต่งของบ้านนี้ ยังเก๋ เท่ สมเป็นโซฟี ที่เด็ดสุดคืออ่างอาบน้ำริมกระจก ต่อยาวจากเคาเตอร์ครัว ในห้องรับแขกกึ่งห้องทานข้าว เป็นสีขาวสะอาดตา โดยไร้อย่างอายหรือขัดเขินใดๆไม่ แถมด้วยชั้นหนังสือที่จุใจไปด้วยหนังสืออาร์ต หนังสือเกี่ยวกับหนังไปจนถึงวรรณกรรมหนักๆ ตอนนี้ ไม่มีใครอยู่บ้าน เฟย์นอนเอกเขนกบนเก้สอี้หลุยส์เล่นเฟสบุ้ค พร้อมกับมีเจ้าโกโก้ แมวดำที่เห็นอตระกร้าไม่ได้ ต้องเอาตัวเข้าไปหลบนอนด้านใน นอนอยู่ข้างๆไม่ไกล พักเหนื่อยเอาแรงตากความหนาวข้างนอกก่อนออกไปร้านกาแฟตามนัดแถวซอร์บอนน์
 
 
 

Travel Writings on Indochina

I've been collecting a collection of travel writings on Indochina at the fin de siècle: Morice Docteur, 'Voyage en Cochinchine',...